• เปิดดู
    4,156
เมืองโบราณเชียงแสน

เชียงแสน เคยเป็นศูนย์กลางอาณาจักรล้านนาในยุคแรก ๆ และเป็นเมืองเก่าแก่มากแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เดิมชื่อเวียงหิรัญนครเงินยาง แม้ปัจจุบันยังมีซากกำแพงเมืองโบราณ 2 ชั้น และโบราณสถานหลายแห่ง ปรากฏอยู่ในทั้งในและนอกตัวเมือง ภายในเขตกำแพงเมืองเก่าประกอบด้วยวัดร้างและโบราณสถานที่สร้างในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18-21 สลับกับบ้านเรือนชาวบ้าน การเที่ยวชมควรเริ่มต้นจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน ใกล้กับประตูป่าสัก ติดกันเป็นวัดเจดีย์หลวง ฝั่งตรงข้ามจะเป็นศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวเชียงแสน จากจุดนี้สามารถไปเที่ยวชมโบราณสถานต่าง ๆ ได้ในรัศมีไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร
เมืองโบราณเชียงแสน

เมืองโบราณเชียงแสน จากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 59 กม. โดยแยกจากทางหลวง หมายเลข 110 ที่อำเภอแม่จันไปตามทางหลวงหมายเลข 1016 ประมาณ 31 กม.

เชียงแสน เคยเป็นศูนย์กลางอาณาจักรล้านนาในยุคแรก ๆ และเป็นเมืองเก่าแก่มากแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เดิมชื่อเวียงหิรัญนครเงินยาง แม้ปัจจุบันยังมีซากกำแพงเมืองโบราณ 2 ชั้น และโบราณสถานหลายแห่ง ปรากฏอยู่ในทั้งในและนอกตัวเมือง ภายในเขตกำแพงเมืองเก่าประกอบด้วยวัดร้างและโบราณสถานที่สร้างในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18-21 สลับกับบ้านเรือนชาวบ้าน การเที่ยวชมควรเริ่มต้นจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน ใกล้กับประตูป่าสัก ติดกันเป็นวัดเจดีย์หลวง ฝั่งตรงข้ามจะเป็นศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวเชียงแสน จากจุดนี้สามารถไปเที่ยวชมโบราณสถานต่าง ๆ ได้ในรัศมีไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร

อาณาเขต เมื่อแรกสร้าง มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณที่ราบลุ่มเชียงแสนทั้งหมด มีอาณาเขต
- ทิศเหนือติดต่อกับเมืองกายสามเท้า
- ทิศใต้ติดต่อกับเมืองเชียงราย ที่ตำบลแม่เติม
- ทิศตะวันออกติดต่อกับเมืองเชียงของที่ตำบลเชียงชี
- ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับแดนฮ่อที่ตำบลเมืองหลวง และ
- ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับเมืองฝาง ที่กิ่วคอสุนัข หรือกิ่วสไต

ประวัติศาสตร์เชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมืองประวัติศตร์ที่ผสมผสานระหว่างอดีตกับปัจจุบันในเขตจังหวัดเชียงรายที่สำคัญ ได้แก่ เมืองเชียงแสน เนื่องจากมีประวัติความเป็นมาค่อนข้างชัดเจน และยังปรากฏร่องรอยโบราณวัตถุโบราณสถานหลายแห่ง จากหลักฐานโบราณคดีสันนิษฐานว่า การสร้างเมืองคงเริ่มขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา ตามที่ระบุไว้ในชุนกาลมาลีปกรณ์ และพงศาวดารโยนก เพราะศักราชดังกล่าวใกล้เคียงกันใกล้เคียงกันมาก รวมทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องกันมาสัมพันธ์กับรูปแบบอายุสมัยของของโบราณวัตถุสมัยประวัติศ่สตร์ที่สร้างขึ้นทั้งในและนอกตัวเมืองซึ่งมีอายุหลังกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ลงมาทั้งสิ้น

พ .ศ.๒๔๘๒ทางราชการเปลี่ยนชื่ออำเภอเชียงแสนเป็นแม่จันและย้ายที่ทำการไปอยู่ที่แม่จันห่างจากที่ว่าการอำเภอเดิมประมาณ ๓๐ กิโลเมตร ตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอนี้เรียกว่าเชียงแสนใหม่ หรือเชียงแสนแม่จัน ส่วนเมืองเชียงแสนนั้นมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอ

ต่อมาในปี พ . ศ . ๒๕๐๐ จึงยกฐานะเป็นอำเภอเชียงแสน และรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูบูรณะอำเภอเชียงแสนขึ้น โดยมอบหมายให้กรมศิลปากรดำเนินการฟื้นฟูบูรณะและอนุรักษ์โบราณสถานที่สำคัญในเมืองเชียงแสน ตั้งแต่พ. ศ . ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ปัจจุบันร่องรอยของโบราณสถานในอำเภอเชียงแสนที่หลงเหลือให้เห็น มักเป็นซากปรักหักพังของสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา ได้แก่ พระเจดีย์ และพระวิหาร ซึ่งส่วนใหญ่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน และมีวัดอยู่ทั้งสิ้น ๑๔๐ วัด แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่วัดในเมือง ๗๖ วัด และวัดนอกเมือง ๖๕ วัด การเรียกชื่อวัดต่าง ๆ ได้ยึดถือจากตำแหน่งที่ระบุไว้ในพงศาวดารล้านนาซึ่งเขียนขึ้นภายหลัง โบราณสถานที่สำคัญและน่าสนใจ ได้แก่

วัดพระธาตุจอมกิตติ  ตั้งอยู่บนดอยจอมกิตติ นอกเมืองเชียงแสนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๑ . ๗ กิโลเมตร สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ เจดีย์จอมกิตติที่ตั้งบนฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเตี้ย ๆ ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำย่อมุมซ้อนกันสี่ชั้นรองรับเรือนธาตุย่อมุมเช่นกัน มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืนทั้งสี่ด้าน ส่วนยอดทำเป็นกลีบมะเฟืองรองรับปล้องไฉนและปลียอด ส่วนเจดีย์จอมแจ้งและเจดีย์สวนสนุกนั้นอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ตำนานการสร้างพระธาตุจอมกิตติค่อนข้างจะสับสนเพราะมีการสร้างถึง ๒ ครั้งกล่าวคือ ครั้งแรก  พระเจ้าพังคราชและพระเจ้าพรหมมหาราช พระราชโอรส โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อพ . ศ . ๑๔๘๓ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุกระดูกหน้าผาก กระดูกอก และกระดูกแขนของพระองค์ สมัยเดียวกับการสร้างพระธาตุจอมทองของเมืองเชียงราย ครั้งที่ ๒  พระเจ้าสุวรรณคำล้าน เจ้าเมืองเชียงแสน ให้หมื่นเชียงสงสร้างขึ้นเมื่อปี พ . ศ . ๒๐๓๐ ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระยอดเชียงราย ก่อสร้างเจดีย์ครอบองค์เดิม ต่อมาพระธาตุชำรุด ทรุดโทรมมาก เจ้าฟ้าเฉลิมเมืองพร้อมด้วยคณะศรัทธาได้บูรณะปฏิสังขรณ์อีกเมื่อปี พ . ศ . ๒๒๒๗ จากรูปทรงสถาปัตกรรมขององค์เจดีย์ที่ปรากฎในปัจจุบัน พระเจดีย์องค์นี้คงไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ส่วนพระพุทธรูปประทับยืนในซุ้มทิศ ( ส่วนที่เป็นของเดิม ) คงจะซ่อมเสริมสร้างขึ้น ภายหลังระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ ปัจจุบันเจดีย์องค์นี้ได้รับการบูรณะเสริมความสร้างมั่นคงและปิดทองแผ่นทองจังโกใหม่

วัดพระธาตุผาเงา ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศใต้ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงแสนไปตามเส้นทางเชียงของ - เชียงแสน ประมาณ ๕ กิโลเมตร อยู่ตรงข้ามโรงเรียนบ้านสบคำ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม มีเนื้อที่ประมาณ ๑๔๓ ไร่ สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระธาตุผาเงา ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กตั้งอยู่บนก้อนหินใหญ่ ซึ่งบูรณะขึ้นใหม่ แต่เดิมเป็นวัดร้าง ชาวบ้านสบคำต้องการย้ายวัดสบคำจากที่เดิมที่ถูกแม่น้ำโขงกัดเซาะพังทลาย จึงมาฟื้นฟูวัดร้างนี้ขึ้นเป็นวัดดังเดิม พ . ศ . ๒๕๒๑ วิหารหลังปัจจุบันสร้างทับวิหารเดิม ภายในวิหารแห่งนี้ได้พบพระพุทธรูปปูนปั้น บริเวณหน้าตักพระประธานที่เรียกว่า หลวงพ่อผาเงา เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๑๙ สืบเนื่องมาจากตอนที่คณะศรัทธาวัดพระธาตุผาเงาจะทำพิธียกพระประธานขึ้น เพื่อทำการบูรณะ ระหว่างการดำเนินการได้ ค้นพบพระพุทธรูปดังกล่าวถูกฝังใต้ฐานชุกชีพระประธานใหญ่ พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย พระพักตร์รูปไข่ พระหนุเป็นปม พระรัศมีเป็นเปลว แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ บนเขาด้านหลังวัด เป็นที่ตั้งของพระบรมนิมติเจดีย์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อร่วมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี และเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทย โดยมีท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช เป็นประธาน พร้อมคณะศรัทธาอีกหลายท่าน นอกจากนี้ บนยอดเขายังสามารถมองเห็นทัศนียภาพอันสวยงามของตัวเมืองเชียงแสนได้โดยรอบ

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :: องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

โทร / แฟ็กซ์ :: 053-650803 (อบต.เวียง)

โฮมเพจ / เว็บไซต์ ::