ประมวลภาพกิจกรรม
ประกาศเมื่อ 14 ธันวาคม 2564 เปิดดู 1256 ครั้ง ย้อนกลับ พิมพ์
ร่วมประชุมรับฟังความความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ทิศทาง บทบาท การทำงาน และแผนกิจกรรมของเครือข่ายอุทยานธรณีประเทศไทย (Thailand Geopark Network) ครั้งที่ 3


วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2564 เวลา 09.00 น.
                นายเสริฐ  ไชยยานันตา ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นางสาวฐาณียา ชัยวงค์บุตร นักวิเคราะห์นโยบายและแผน เข้าร่วมประชุมรับฟังความความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ทิศทาง บทบาท การทำงาน และแผนกิจกรรมของเครือข่ายอุทยานธรณีประเทศไทย (Thailand Geopark Network) ครั้งที่ 3 ผ่านระบบออนไลน์ Zoom จัดการประชุมโดย กรมทรัพยากรธรณี ในการประชุมมี นางสุรีย์ ธีระรังสิกุล รักษาราชการรองอธิบดี กรมทรัพยากรธรณีเป็นผู้เปิดการประชุม
          คณะทำงานจากสถาบันการจัดการบ้านเมืองที่ดี (IGP) ได้นำเสนอ (ร่าง) ทิศทาง บทบาทการทำงาน และแผนกิจกรรมของเครือข่ายอุทยานธรณีประเทศไทย 
          เครือข่ายอุทยานธรณีประเทศไทย เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวหลักในการประสานความร่วมมือระหว่างอุทยานธรณี และเครือข่ายอุทยานธรณีทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก ผ่านกิจกรรมและโครงการ รวมทั้งการอนุรักษ์และรณรงค์ให้ผู้คนตระหนักและรับรู้ถึงคุณค่าของมรดกธรณีและแหล่งธรณีทั้งในแง่ของการศึกษา การท่องเที่ยว และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน จึงได้ดำเนินการร่างข้อปฏิบัติสาหรับเครือข่ายอุทยานธรณีประเทศไทยขึ้นเพื่อเป็นแนวทาง และก่อให้เกิดความเข้มแข็งทั้งภายในเครือข่ายฯ ซึ่งประกอบด้วยอุทยานธรณีแห่งต่าง ๆ รวมถึงชุมชนและผู้คนในท้องถิ่นนั้น ๆ ร่วมกัน 
          แนวทางการจัดตั้งอุทยานธรณี มี Model การจัดตั้งอุทยานธรณีโดยบุคคลที่หลากหลาย เช่น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้นำชุมชน ประธานสภาวัฒนธรรม รวมถึงบุคลากรทางด้านการศึกษา ที่เป็นผู้ผลักดันและขับเคลื่อนจัดตั้งอุทยานธรณี ในส่วนของการให้ความรู้และแนวทางการดำเนินการทำงานของอุทยานธรณี สำนักงานทรัพยากรธรณีในแต่ละเขตจะเป็นผู้ให้ความรู้แก่คณะทำงาน รวมถึงการสร้างความรู้และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
          ในที่ประชุมแจ้งว่าจังหวัดใจภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้แก่ เชียงราย ใช้ใหม่ และลำปาง เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสามารถผลกดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอุทยานธรณีระดับโลกได้ ในส่วนของจังหวัดเชียงรายได้นำร่องผลักดันวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นอุทยานธรณี Geo-Park ตามแนวทางของ UNESCO เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางด้านธรณีวิทยา และสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอนุรักษ์เชิงนิเวศได้ อีกทั้งวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนยังเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจเรื่องของการกู้ภัยครั้งสำคัญระดับโลก ซึ่งเป็นความร่วมมือของระดับนานานชาติในการเข้าไปช่วยเหลือ 13 นักฟุตบอลเยาวชนทีมหมูป่า เรื่องราวนี้ได้มีการเผยแพร่ไปสื่อทั่วโลก วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนจึงเป็นแลนด์มาร์คที่สำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวตามแนวทางของ UNESCO  ที่กำหนดไว้ โดย องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) มีเป้าหมายพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวอุทยานธรณีระดับโลกตามเกณฑ์ของยูเนสโกภายในปี 2568