ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ยุทธศาสตร์พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย


วิสัยทัศน์ เชียงราย : เชียงรายเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของล้านนา (Chiang Rai Capital of Lanna)
พันธกิจ ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว บุคลากร การคมนาคมขนส่งให้มีคุณภาพ มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจหลักของจังหวัดให้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าการท่องเที่ยว เน้นมาตรฐาน และส่งเสริมการพัฒนาอย่างต่อเนื่องแบบครบวงจร โดยสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และองค์กรท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา เพื่อนำแผนยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติให้บรรลุผล

ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด เป้าหมาย 52 – 55 52 53 54 56
1. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของผู้มาเยี่ยมเยือน ร้อยละ 12.5 / ปี 5 10 15 20
2. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยว ร้อยละ 7.5 / ปี 3 6 9 12
3. จำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการพัฒนาและรับรองมาตรฐาน 5 แห่ง / ปี 5 5 5 5


เป้าประสงค์
1. เพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้
2. พัฒนาการท่องเที่ยวเน้นฐานเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

กลยุทธ์
1. พัฒนาและส่งเสริมการท่งเที่ยวเชิงนิเวศ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และเชิงสุขภาพ
2. พัฒนาเชียงรายเป็นศูนย์กลางการท่งเที่ยวทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
3. พัฒนามาตรฐานการบริการ และบุคคลากรการท่องเที่ยวสู่สากล
4. พัฒนาการประชาสัมพันธ์ และการตลาดท่องเที่ยว

กลยุทธ์ที่ 1 : พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และเชิงสุขภาพ แนวทางการพัฒนา
1. ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวเดิม พัฒนาแหล่งท่งเที่ยวใหม่และเชื่อมโยงกิจกรรมท่องเที่ยวต่อเนื่องในจังหวัด / กลุ่มจังหวัด / ระหว่างกลุ่มจังหวัด
2. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ : เมืองเวียงเก่าเชียงแสนสู่มรดกโลก และเวียงกาหลง
3. พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ในลักษณะกลุ่ม Long Stay กลุ่ม Ecotourism กลุ่มท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ (ที่มีศักยภาพของชุมชน) กลุ่ม MICE

กลยุทธ์ที่ 2 : พัฒนาเชียงรายเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมความร่วมมือการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อบ้านในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน (GMS)
2. สร้างเครือข่าย ประสานความร่วมมือ และเพิ่มสมรรถนะองค์กร ของการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย ให้เชื่อโยงกับประเทศเพื่อนบ้านฯ โดยการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการตลาด

กลยุทธ์ที่ 3 : พัฒนามาตรฐานการบริการ และบุคคลากรการท่องเที่ยวสู่สากล แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจบริการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขั้น
2. พัฒนาบุคลาการด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพมาตรฐานโลก
3. พัฒนามาตรฐานการบริการที่มุ่งเนินความสะดวกรวดเร็ว ความสะอาดความปลอดภัย และประทับใจ
4. ชุมชนเข้มแข็งและมีส่วนร่วมพัฒนาการท่องเที่ยว

กลยุทธ์ที่ 4 : พัฒนาการประชาสัมพันธ์ และการตลาดท่องเที่ยว แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และพัฒนาตลาดท่องเที่ยว
2. พัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวตลอดปี

fafabets สล็อตออนไลน์ เว็บ fafabets