ข้อมูลด้านกีฬา
ข้อมูลด้านกีฬา
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดเชียงราย เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 เดิมชื่อศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดเชียงรายเป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อเดิมว่า “ศูนย์พลศึกษาและกีฬาจังหวัดเชียงราย” ปัจจุบันมีสถานที่ทำงานอยู่ที่ สนามกีฬาจังหวัดเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ย การกีฬา นันทนาการ และราชการอื่นตามที่ได้มีกฎหมาย

ข้อมูลสนามกีฬาจ.เชียงราย
ข้อกำหนดมาตรฐานสนามกีฬา 6 ชนิดกีฬา
แผนงานพัฒนากีฬาปี 2550


ความพร้อมของแหล่งกีฬา และศักยภาพของแหล่งกีฬา ในท้องที่อำเภอต่างๆ จังหวัดเชียงราย


แนวทางการพัฒนากีฬาของศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการจังหวัดเชียงราย ส่งเสริมกีฬาพื้นฐานและกีฬามวลชน เพื่อให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสได้เล่นกีฬา และออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและสมรรถภาพที่ดี มุ่งเน้นการปลูกฝังความมีน้ำใจนักกีฬาให้เป็นค่านิยม เกิดความสมานฉันท์ของคนในชาติ สนับสนุนกีฬาเพื่อความเป็นเลิศและอาชีพสู่มาตรฐานในระดับสากล โดยดำเนินการพัฒนาการกีฬา ดังนี้

1. ส่งเสริมการกีฬา
2. ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเกี่ยวกับการกีฬา
3. ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำโครงการ แผนงานและสถิติเกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬา รวมทั้งประเมินผล
4. จัด ช่วยเหลือ แนะนำและร่วมมมือในการจัดและดำเนินการกีฬา
5. สำรวจ จัดสร้างและบูรณะสถานที่สำหรับการกีฬา
6. ติดต่อร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาทั้งในและนอกราชอาณาจักร
7. สอดส่องและควบคุมการดำเนินกิจการการกีฬา
8. ประกอบกิจการอื่นๆ อันเกี่ยวแก่หรือเพื่อประโยชน์ของการกีฬา

ยุทธศาสตร์ด้านกีฬา ศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการจังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการจัดประชุมจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการกีฬาจังหวัดเชียงราย พ.ศ.2550 – 2554 ซึ่งการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ครั้งนี้ได้ทำการศึกษาทบทวนประเด็นยุทธศาสตร์กีฬาแห่งชาติ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ 4 ปี สร้างกีฬาชาติ (พ.ศ. 2548 – 2551), นโยบายรัฐบาลด้านสุขภาพ, ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา และแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ.2550 – 2554) เพื่อนำมากำหนดกรอบประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนาการกีฬาจังหวัดเชียงรายให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์กีฬาแห่งชาติ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ 4 ปี สร้างกีฬาชาติ (พ.ศ.2548 – 2551) สาระสำคัญของยุทธศาสตร์ 4 ปี สร้างกีฬาชาติ (พ.ศ.2548-2551)

วิสัยทัศน์ สร้างกีฬาเป็นวัฒนธรรมของชาติ เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

พันธกิจ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการกีฬาด้วยการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ มีการบูรณาการ เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ โดยร่วมมือกับภาคีที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ให้การดำเนินงานด้านการกีฬาสามารถตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน บรรลุผลตามนโยบายรัฐบาล แผนพัฒนา และยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเสริมสร้างการกีฬาให้มีขีดความสามารถ ในการแข่งขันระดับภูมิภาค และระดับโลก

เป้าหมาย
1. ประชาชนทุกกลุ่ม ออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
2. ประเทศไทยมีการส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการเพื่อสุขภาพ กีฬาในระดับท้องถิ่นและกีฬาเพื่อการแข่งขันในระดับโลกอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

ประเด็นยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนากีฬาขั้นพื้นฐาน
ประกอบด้วย 3 แผนงาน
1. แผนงานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการพลศึกษาในสถานศึกษา
2. แผนงานส่งเสริมการสร้างนักกีฬาในสถานศึกษา
3. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างร่างกายของนักเรียนและเยาวชน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนากีฬาเพื่อมวลชน
ประกอบด้วย 3 แผนงาน
1. แผนงานส่งเสริม และพัฒนาการออกกำลังกายกีฬา และนันทนาการ เพื่อมวลชน
2. แผนงานส่งเสริมกีฬามวลชน
3. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาสมรรถภาพทางกายของประชาชน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศ
ประกอบด้วย 4 แผนงาน
1. แผนพัฒนาองค์กรกีฬา
2. แผนงานศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ
3. แผนงานพัฒนานักกีฬา
4. แผนงานพัฒนาบุคลากรกีฬา

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาการกีฬาเพื่อการอาชีพ
ประกอบด้วย 5 แผนงาน
1. แผนงานพัฒนานักกีฬาสู่กีฬาอาชีพ
2. แผนงานพัฒนาบุคลากรกีฬาอาชีพ
3. แผนงานจัดการแข่งขันกีฬาอาชีพ
4. แผนงานบริหารจัดการกีฬาอาชีพ
5. แผนงานสิทธิประโยชน์เพื่อหารายได้สนับสนุนกีฬา
แนวทางการดำเนินการกีฬา (Road Map)

มุ่งเน้นการกีฬาเพื่อสุขภาพร่างกาย / สุขภาพจิต / ภาวะผู้นำ สู่การกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ โดยเป้าหมายสูงสุดพัฒนาการกีฬาเพื่ออาชีพ

นโยบายรัฐบาลด้านสุขภาพ


ข้อ 1 สนับสนุนด้านนโยบาย ทรัพยากร และการดำเนินงานต่อโครงการตามพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการอันเกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์


ข้อ 2 พัฒนายุทธศาสตร์และกลไกจำเพาะด้านสุขภาพ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของประเทศ ในการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้


ข้อ 3 พัฒนานโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้สมประโยชน์ของทุกฝ่าย โดยการสนับสนุนทรัพยากรให้เพียงพอกับสิทธิประโยชน์ที่กำหนดจัดสรร กระจาย และใช้จ่ายทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ ภายใต้ระบบและกลไกที่โปร่งใสและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย รวมทั้งการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการด้านสุขภาพ ให้อยู่บนฐานของการพึ่งพาอาศัยกันในฐานะของการเป็นเพื่อนมนุษย์ ด้วยการพัฒนาระบบการมีส่วยร่วม ระบบคุณภาพความปลอดภัยของการบริการ และการออกกฎหมายจัดตั้งกองทุนชดเชยความเสียหายแก่ผู้ป่วยโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด


ข้อ 4 ส่งเสริมและสนับสนุนการระดมศักยภาพของหน่วยงาน องค์กรและเครือข่ายต่าง ๆ ที่ ทำงานด้านสุขภาพ เพื่อขับเคลื่อนงานร่วมกันด้วยหลักปรัชญาเสรษฐกิจพอเพียง อันจะนำไปสู่การมีสุขภาวะ หรือความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในชนบทและชุมชนแออัดในเขตเมือง


ข้อ 5 สนับสนุนและพัฒนาความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของขบวนการสุขภาพภาคประชาชน ส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทการดำเนินงานด้านสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลไกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และการจัดทำ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมที่ยั่งยืน ซึ่งเป้นส่วนหนึ่งของดัชนีความสุขของประชาชน


ข้อ 6 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบบริการสุขภาพ ทั้งในยามปกติ ยามมีสถานการณ์ฉุกเฉิน และกรณีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงให้เกิดความสมดุล มีคุณภาพ มีความเสมอภาค มีประสิทธิภาพ มีความเชื่อมโยงด้วยระบบส่งต่อที่ดี กระจายอำนาจด้านสุขภาพสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเร่งรัดนำร่องปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม พัฒนาระบบสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารและระบบบัญชีสถานพยาบาลที่โปร่งใสและชัดเจนทั้งการพัฒนากำลังคน ตามแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพ


ข้อ 7 สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและการควบคุมโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพที่เป็นปัญหาสำคัญตามหลักการสร้างนำซ่อม โดยการพัฒนามาตรการที่ได้ผล .ในการป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ และการใช้แนวทางสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง


ข้อ 8 ส่งเสริมการพัฒนาระบบการวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ บริการด้านสุขภาพ และการดำเนินงานด้านสุขภาพต่าง ๆ ที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ โดยการจัดให้มีระบบงบประมาณสนับสนุนที่ชัดเจน พอเพียง และต่อเนื่อง


ข้อ 9 ส่งเสริมสนับสนุนและเร่งรัดการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกให้เกิดผลอย่างจริงจัง เพื่อเป็นทางเลือกด่านสุขภาพของประชาชน รวมไปถึงสนับสนุนการพัฒนาเสรษฐกิจทั้งระดับชุมชนและระดับชาติ


ข้อ 10 ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ดีในวงการด้านสุขภาพทุกระดับ ด้วยการเน้นระบบคุณธรรม ระบบความสัมพันธ์แนวราบ ระบบวัฒนธรรมความเรียบง่าย มีความสมานฉันท์ และระบบการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ ที่มีความเป็นธรรมาภิบาล และเป็นต้นแบบด้านสุขภาพที่ดี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

.
ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา

วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรหลักที่นำประเทศไทย ไปสู่ศูนย์กลางการท่องเที่ยวในเอเชียอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ให้สามารถกระจายรายได้แก่ชุมชนอย่างทั่วถึง โดยเน้นเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมอันดีงามของไทยและพัฒนาการกีฬาให้เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้นำการกีฬาแห่งเอเชียเป็นศูนย์กลางการกีฬาที่สร้างรายได้ สร้างอาชีพสร้างความเป็นเลิศ และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคมอย่างยั่งยืน
พันธกิจ

1. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการท่องเที่ยว การกีฬา ด้วยการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ
2. บูรณาการ และประสานการดำเนินภารกิจด้านการท่องเที่ยวและกีฬา เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบกับทุกภาคส่วนให้สามารถตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน
3. เสริมสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและกีฬา ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับภูมิภาค และระดับโลก
เป้าหมาย

1. ในปี 2551 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่องประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านคน หรือมีรายได้จากการท่องเที่ยวไม่น้อยกว่า 700,000 ล้านคน
2. ประชาชนทุกกลุ่ม จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 เล่นกีฬา และออกกำลังกายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการฝึกกีฬา (Training Center) และการจัดการแข่งขัน (Competition Center) ในภูมิภาคเอเชีย พัฒนาอุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์กีฬาเพื่อการส่งออกระดับโลก

ประเด็นยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (พ.ศ.2547-2551)


ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว


กลยุทธ์

1. ส่งเสริมการพัฒนาศึกยภาพในการแข่งขัน ตลาดเชิงรุก ทั้งในและต่างประเทศ
2. ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็น Gateway ในภูมิภาคเอเชีย
3. พัฒนาระบบสารสนเทศ
4. ส่งเสริม World Event Marketing

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว


กลยุทธ์

1. สร้าง พัฒนา ฟื้นฟู และเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว
2. ยกระดับมาตรฐานสินคาและบริการ
3. เพิ่มมาตรฐานการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว
4. พัฒนามาตรฐานการรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการกีฬาขั้นพื้นฐานและเพื่อมวลชน

กลยุทธ์
1. ส่งเสริมการพัฒนาการเพิ่มศักยภาพในการเล่นกีฬาขั้นพื้นฐานและเพื่อมวลชน
2. ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาขั้นพื้นฐานและเพื่อมวลชน
3. ส่งเสริมการทำกิจกรรมและการแข่งขันกีฬาทั้งระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ

กลยุทธ์
1. ส่งเสริมการมาตรฐานการจัดการแข่งขันกีฬาทุกระดับ
2. ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการแข่งขันกีฬา
3. ส่งเสริมการทำตลาด การทำประชาสัมพันธ์เชิงรุก รวมทั้งการจัดการแข่งขันระดับชาติและนานาชาติ

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาการกีฬาเพื่อการอาชีพ

กลยุทธ์
1. ส่งเสริมการพัฒนากีฬาให้เป็นกีฬาอาชีพได้มาตรฐาน
2. ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันกีฬาเพื่อการอาชีพ
3. กำหนด กฎ ระเบียบ และการปฏิบัติเพื่อการกีฬาอาชีพ
4. ส่งเสริมการทำตลาดการประชาสัมพันธ์

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการแบบบูรณาการ

กลยุทธ์
1. เพิ่มขีดความสามารถของกระทรวงฯ เพื่อให้เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวและกีฬา
2. ส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัการท่องเที่ยว กีฬา การออกกำลังกาย และนันทนาการแบบบูรณาการในทุกระดับ ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชนในประเทศและต่างประเทศ
3. การปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว กีฬา การออกกำลังกาย และนันทนาการ

แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2550 – 2554)

การกีฬามีความสำคัญต่อประชาชนและประเทศ ทั้งในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตการสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพที่ดี ปลูกฝังความมีน้ำใจนักกีฬาให้เป็นค่านิยม เกิดความสมานฉันท์ของคนในชาติ การสร้างความภาคภูมิใจ สร้างแรงบันดาลใจ สร้างรายได้ อาชีพ และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และรัฐบาลไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาด้านการกีฬาที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรบุคคลของประเทศ โดยมีแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาด้านการกีฬามาแล้ว 3 ฉบับได้แก่ แผนพัมนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2531 – 2539) แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2540 – 2544) และแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ2545 – 2549) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในฐานะที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้านการกีฬาของประเทศ ได้ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2550 – 2554) เพื่อใช้เป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนาการกีฬาของประเทศให้บรรลุเป้าหมาย

สาระสำคัญของแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2550 – 2554)


วิสัยทัศน์

เด็ก เยาวชน และประชาชนเล่นกีฬาและออกกำลังกายอย่างถูกต้องจนเป็นวิถีชีวิต มีสุขภาพ และสมรรถภาพที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม น้ำใจนักกีฬา พัฒนาศักยภาพของนักกีฬาให้มีมาตรฐานระดับสากลนำไปสู่การกีฬาอาชีพ โดยใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาและการบริหารจัดการที่ดี

พันธกิจ

1. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการกีฬา การออกกำลังกายและนันทนาการให้เป็นวิถีชีวิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและมีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และน้ำใจนักกีฬา ให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชน
2. สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนานักกีฬาให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น เพื่อสร้างรายได้และเกียรติภูมิแก่ทรัพยากรบุคคลและประเทศชาติ
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เพื่อนำองค์ความารู้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการกีฬาทุกระดับ
4. พัฒนาการบริหารจัดการการกีฬาอย่างเป็นระบบ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างค่านิยมการออกกำลังกาย เล่นกีฬา ดูกีฬา และนันทนาการ จนเป็นวิถีชีวิต
2. เพื่อใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาในการพัฒนาการเล่นกีฬา การออกกำลังกายและนันทนาการ ตลอดจนการพัฒนานักกีฬาให้มีศักยภาพสูงขึ้น
3. เพื่อให้มีการศึกษา วิจัย และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการกีฬา การออกกำลังกาย และนันทนาการ
3. เพื่อบูรณาการทรัพยากรทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการกีฬาที่เป็นระบบและมีมาตรฐานโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกระดับ
4. เพื่อพัฒนาและผลิตบุคลากรด้านการกีฬา นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา และนักวิจัยด้านการกีฬา

เป้าหมายหลัก

1. เด็ก เยาวชน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ออกกำลังกายเล่นกีฬา และร่วมกิจกรรมนันทนาการเป็นประจำ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
2. เด็ก เยาวชน และประชาชนอย่างน้อยร้อยละ 50 มีสมรรถภาพทางร่างกายตามเกณฑ์ที่กำหนด
3. โรงเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีครูที่มีวุฒิการศึกษาด้านพลศึกษา
4. มีนักกีฬาและบุคลากรด้านการกีฬาที่มีคุณภาพและเข้าสู่มาตรฐานในระดับสากลเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ปี
5. มีผู้นำกีฬาและอาสาสมัคร ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านการกีฬา สนามกีฬา อุปกรณ์กีฬาที่มีคุณภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนตำบลทั้งหมด
6. มีการส่งเสริมและพัมนากีฬาสากลและกีฬาไทยที่มีศักยภาพเพื่อนำร่องสู่กีฬาอาชีพ 12 ชนิดกีฬา (ประเภทบุคคล 8 ชนิดกีฬา และประเภทกีฬา 4 ชนิดกีฬา)
7. มีการศึกษา วิจัย สร้างสิ่งประดิษฐ์ และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการกีฬา การออกกำลังกาย และนันทนาการ เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี
8. มีองค์กรกีฬาและเครือข่ายที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกีฬาอย่างมีประสิทธิภาพครบทุกตำบล
9. มีการจัดการแข่งขันกีฬาที่ได้มาตรฐาน ตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด ชาติและนานาชาติ เพื่อพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศและอาชีพ
10. มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ

ประเด็นยุทธศาสตร์


1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกีฬาขั้นพื้นฐาน ให้ความสำคัญกับการพัฒนา และส่งเสริมศักยภาพและทักษะการเล่นกีฬาและออกกำลังกายขั้นพื้นฐานให้แก่เด็กและเยาวชน ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนเพื่อเป็นการเตรียมบุคลากรด้านการกีฬาให้มีความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐานของร่างกาย ให้สามารถพัฒนาและสนับสนุนการเล่นกีฬาในระดับสูงต่อไป มีวัตถุประสงค์ เพื่อ

- เพื่อให้เด็กและเยาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเล่นกีฬาและออกกำลังกายและมีเจตคติที่ดีต่อการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย
- เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัย และน้ำใจนักกีฬา
- เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทักษะพื้นฐานในการเคลื่อนไหว การเล่นกีฬาและการออกกำลังกายและนำทักษะพื้นฐานไปใช้ในการเคลื่อนไหว การเล่นกีฬา และการออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อการมีสุขภาพที่ดีและเป็นพื้นฐานในการพัมนากีฬาไปสู่ความเป็นเลิศ

2) ยุทธศาสตร์การพัฒนากีฬาเพื่อมวลชน ให้ความสำคัญกับเด็ก เยาวชน และประชาชนทุกกลุ่มได้มีโอกาสเล่นกีฬาและออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นประจำเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และพัฒนาทักษะด้านการเล่นกีฬา เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศและอาชีพในระดับสูงต่อไป มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่ม รวมทั้งบุคคลกลุ่มพิเศษและผู้ด้อยโอกาสได้เล่นกีฬาออกกำลังกาย และร่วมกิจกรรมนันทนาการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตเป็นประจำ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ รวมทั้งสร้างคุณธรรม จริยธรรม ความสามัคคี และความมีวินัยของคนในชาติ

3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ ให้ความสำคัญกับเด็ก เยาวชน และประชาชนทุกกลุ่มทุกระดับได้มีโอกาสแสดงความสามารถในการแข่งขันกีฬาเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในทุกระดับ ทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ เพื่อสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
- ส่งเสริมให้นักกีฬาทุกกลุ่ม ทุกระดับ มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขัน และพัฒนาความสามารถโดยมุ่งเน้นความเป็นเลิศในการแข่งขันกีฬาทั้งระดับชาติและนานาชาติ
- ส่งเสริมให้บุคลากรทางการกีฬาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และมีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการในการพัฒนากีฬาทุกระดับ (ตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด ชาติ และนานาชาติ)
- สร้างและพัฒนาสถานกีฬา อุปกรณ์กีฬา และสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับการฝึกซ้อมและการแข่งขันกีฬาทุกระดับ (ตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด ชาติ และนานาชาติ)
- สร้าง ขยาย และพัมนาเครือข่ายองค์กรกีฬาในแต่ระดับ ให้เชื่อมโยงและสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ และมีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- พัฒนาระบบการจัดและส่งแข่งขันกีฬาเพื่อความเป็นเลิศทั้งระดับชาติและนานาชาต

4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกีฬาเพื่อการอาชีพ
ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาชนิดกีฬาที่มีศักยภาพสู่การเป็นกีฬาอาชีพอย่างแท้จริง โดยมีองค์ประกอบจำนวนนักกีฬาอาชีพที่มีคุณภาพเพียงพอและมีรายได้จากการประกอบอาชีพนักกีฬา เพื่อพัฒนาสู่การกีฬาอาชีพที่ได้มาตรฐานสากลที่มีการสนับสนุนจากภาคเอกชน ตลอดจนมีการจัดการแข่งขันที่มีผู้ชมอย่างต่อเนื่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อ
- ส่งเสริมและพัฒนากีฬาสากลที่มีศักยภาพและกีฬาไทยบางชนิดให้เป็นกีฬาอาชีพอย่างมีมาตรฐาน
- พัฒนานักกีฬา บุคลากรกีฬา อย่างครบวงจร และส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเป็นสมาชิกขององค์กรสโมสรกีฬาอาชีพทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค โดยสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถานบันผลิตนักกีฬาและบุคลากรกีฬาอาชีพ
- พัฒนาการจัดการแข่งขันกีฬาอาชีพให้เป็นระบบและมีมาตรฐานสากลโดยมีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพทางการกีฬาที่เหมาะสมและทันสมัย
- พัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านสถานกีฬาและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อการฝึกซ้อมและแข่งขันตามมาตรฐานสากลและให้มีการศึกษาเรียนรู้และนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการกีฬามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนานักกีฬาอาชีพ
- พัฒนาระบบบริหารแบบมืออาชีพ โดยสนับสนุนให้มีการจัดสรรทุนส่งเสริมและสวัสดิการกีฬาอาชีพเพื่อการคุ้มครองและรักษาสิทธิ์ หรือผลประโยชน์ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจให้องค์กรเอกชนร่วมส่งเสริมกีฬาอาชีพ

5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาในทุกสาขา และการนำความรู้ไปพัฒนาศักยภาพนักกีฬา การแข่งขั้นกีฬา ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนได้เล่นกีฬาและออกกำลังกายที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

มีวัตถุประสงค์เพื่อ
- เพื่อให้มีการจัดตั้งองค์กรด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาในระดับชาติและเครือข่ายวิทยาศาสตร์การกีฬาครอบคลุมทั่วประเทศ
- เพื่อผลิต และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาและสร้างเครือข่ายวิชาการทั้งในและต่างประเทศ
- เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เพื่อพัฒนาศักยภาพนักกีฬาและบุคลากรทางการกีฬา รวมทั้งสถานกีฬา และอุปกรณ์กีฬาให้ได้มาตรฐาน
6) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารการกีฬา ให้ความสำคัญกับการบริหารแบบบูรณาการให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในทุกระดับ และมีการบริหารจัดการข้อมูลด้านการกีฬาครอบคลุมทุกด้าน เพื่อการใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการกีฬา มีวัตถุประสงค์เพื่อ
- เพิ่มประสิทธิภาพระบบ และบุคลากรในการบริหารจัดการกีฬาทุกระดับของภาครัฐและเอกชน ตลอดจนปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาให้ทันสมัย
- บรูณาการแผนและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งในระดับนโยบายสู่ระดับการปฏิบัติและในระดับเดียวกัน

ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติในระยะ 5 ปีข้างหน้า จะสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้จะต้องมีปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ ดังนี้
1) ผลักดันให้การเล่นกีฬา การออกกำลังกาย และนันทนาการ จนเป็นวิถีชีวิตของประชาชนทุกระดับให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยมีแผนงานโครงการ และงบประมาณเชิงบูรณาการต่อเนื่งอตลอดระยะ 5 ปี เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีคณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติในการกำหนดนโยบายมาตรการ กำกับ ดูแล และสนับสนุนการบรูณาการปฎิบัติงานตามแผนอย่างมีประสิทธิภาพ
2) เพิ่มขีดความสามารถขององค์กรที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักด้านการกีฬา ทั้งภาครัฐเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคี เครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยพัฒนาระบบการบริหารจัดการการกีฬา การออกกำลังกาย และนันทนาการแบบบูรณาการในทุกระดับ และพัฒนาองค์ความรู้ ด้านการบริหารจัดการการกีฬา การออกกำลังกาย และนันทนาการ รวมทั้งจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านการกีฬาและออกกำลังกายที่ครอบคลุม น่าเชื่อถือ และเป็นปัจจุบัน
3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์กีฬา เพื่อสนับสนุนการเล่นกีฬา การออกกำลังกายและนันทนาการ โดยการกำหนดมาตรฐาน พัฒนา ปรับปรุง บำรุงรักษา เพิ่มมูลค่าโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ และสนับสนุนให้มีโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์กีฬา การออกกำลังกาย และนันทนาการในระดับมาตรฐานสากล
4) จัดให้มีและเพิ่มศักยภาพของสถาบันการพัฒนาบุคลากรทางการกีฬา ระบบการฝึกซ้อมและการผลิตนักกีฬา การออกกำลังกายและนันทนาการ โดยพัมนาองค์ความรู้ การวิจัยและการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการกีฬา เพื่อสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของนักกีฬา
5) ส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนด้านการกีฬาโดยสนับสนุนสิทธิประโยชน์สำหรับภาคเอกชนเพื่อการลงทุนในธุรกิจกีฬา
6) พัฒนาการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการให้องค์ความรู้ด้านการกีฬาและส่งเสริมให้มีอาสาสมัครการกีฬาระดับตำบล
7) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน องค์กร ชุมชน และเครือข่ายการกีฬาให้องค์ความรู้ด้านการกีฬา การดูกีฬา และการสร้างวัฒนธรรมการเล่นกีฬาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา การดำเนินงานที่ผ่านมาทางศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดเชียงรายได้ดำเนินงานโครงการต่างๆ ดังนี้
ปี 2549
1) โครงการฝึกสอนกีฬาภาคฤดูร้อน “ร้อนนี้มีกีฬาเพื่อลูกรัก” ประจำปี 2549
- ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2549 – 10 พฤษภาคม 2549
- ผลการดำเนินงาน ได้กำหนดพื้นที่การฝึกสอน จำนวน 9 จุดๆ ละ 2 อำเภอ โดยกำหนดชนิดกีฬาที่ฝึกสอน 2 ชนิด ได้แก่ ฟุตบอล รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี ชาย และวอลเลย์บอล รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี หญิง
- ผู้เข้าร่วมโครงการ : เด็กและเยาวชน โดยแบ่งออกเป็น
จุดที่ 1 อำเภอเชียงแสน , อำเภอแม่สาย จำนวน 95 คน
จุดที่ 2 อำเภอเวียงเชียงรุ้ง , อำเภอดอยหลวง จำนวน 95 คน
จุดที่ 3 อำเภอเทิง , อำเภอขุนตาล จำนวน 105 คน
จุดที่ 4 อำเภอแม่สรวย , อำเภอเวียงป่าเป้า จำนวน 100 คน
จุดที่ 5 อำเภอเชียงของ , อำเภอเวียงแก่น จำนวน 100 คน
จุดที่ 6 อำเภอแม่จัน , อำเภอแม่ฟ้าหลวง จำนวน 100 คน
จุดที่ 7 อำเภอป่าแดด , อำเภพาน จำนวน 100 คน
จุดที่ 8 อำเภอแม่ลาว , อำเภอเมือง จำนวน 120 คน
จุดที่ 9 อำเภอพญาเม็งราย , อำเภอเวียงชัย จำนวน 100 คน
รวมทั้งสิ้น 915 คน

2) โครงการส่งเสริมพลศึกษา กีฬา นันทนาการ และสุขภาพ ประจำปี 2549
- ดำเนินการระหว่างวันที่ 12 – 28 พฤษภาคม 2549
- ผลการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมพลศึกษากีฬา นันทนาการ และสุขภาพ ประจำปี 2549 เป็นโครงการที่นำผู้เข้าร่วมโครงการฝึกสอนกีฬา ภาคฤดูร้อนมาต่อยอดโครงการฯ โดยกำหนดจุดพื้นที่การฝึกสอน , ฝึกซ้อม และการแข่งขัน จำนวน 3 จุดๆ ละ 6 อำเภอ ซึ่งแต่ละจุดดำเนินการฝึกสอน ฝึกซ้อม และจัดการแข่งขัน แต่ละชนิดกีฬาได้แก่ ฟุตบอล รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี ชาย และรุ่นทั่วไป ชาย-หญิง วอลเลย์บอล รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี หญิง และรุ่นทั่วไป ชาย-หญิง เซปักตะกร้อง รุ่นทั่วไป ชาย-หญิง สำหรับกิจกรรมนันทนาการที่จัด ได้แก่ การแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้านการแสดงวัฒนธรรมชนเผ่า ดนตรีพื้นเมือง กีฬาพื้นบ้าน เช่น ชักคะเย่อ , จักรยานคนจน , บึ๊ดจำบึ๊ด , วิ่งเปี้ยว , วิ่งกระสอบ , มอญซ่อนผ้า เรือบก ฯลฯ และดำเนินการจัดตั้งศูนย์กีฬาและนันทนาการชุมชน

- ผู้เข้าร่วมโครงการ :เยาวชนและประชาชนในพื้นที่ โดยแบ่งออกเป็น
จุดที่ 1 อำเภอเมือง , อำเภอแม่ลาว , อำเภอพาน , อำเภอป่าแดด , อำเภอแม่สรวย และอำเภอเวียงป่าเป้า จำนวน 1,575 คน โดยดำเนินการจัดการแข่งขันในวันที่ 27 – 28 พฤษภาคม 2549
จุดที่ 2 อำเภอเชียงแสน , อำเภอแม่สาย , อำเภอแม่ฟ้าหลวง , อำเภอมแม่จัน , อำเภอดอยหลวง และอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จำนวน 500 คน โดยดำเนินการจัดการแข่งขันในวันที่ 27 – 28 พฤษภาคม 2549
จุดที่ 3 อำเภอเชียงของ , อำเภอเวียงแก่น , อำเภอเทิง , อำเภอขุนตาล และอำเภอเวียงชัย จำนวน 500 คน โดยดำเนินการจัดการแข่งขันในวันที่ 27 – 28 พฤษภาคม 2549
รวมทั้งสิ้น 2,575 คน

3) โครงการจัดกิจกรรมนันทนาการสร้างสรรค์
- ดำเนินการระหว่างวันที่ 12 – 28 พฤษภาคม 2549
- ผลการดำเนินงาน ให้แต่ละอำเภอจัดตั้งศูนย์นันทนาการอำเภอ โดยจัดกิจกรรมนันทนาการภายในพื้นที่อำเภอละ 3- 5 กิจกรรม และนำกิจกรรมนันทนาการที่จัดในอำเภอเข้าร่วมแข่งขันและแสดงในงานการแข่งขันกีฬาโครงการส่งเสริมพลศึกษากีฬา นันทนาการ และสุขภาพ ในแต่ละจุดที่กำหนด

4) โครงการแข่งขันมหกรรมกีฬาเพื่อมวลชนแชลเลนจ์เดย์
- ดำเนินการในวันที่ 25 พฤษภาคม 2549
- ผลการดำเนินงาน จัดให้มีการเล่นกีฬาและออกกำลังกายภายในจังหวัด
- ผู้เข้าร่วมโครงการ : ผู้เล่นกีฬาและออกกำลังกาย จำนวน 106,259 คน

5) โครงการอบรมผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอล ผู้ฝึกสอน ขั้นพื้นฐาน
- ดำเนินการอบรมระหว่างวันที่ 8-14 พฤษภาคม 2549
- ผลการดำเนินงาน
1) จัดอบรมผู้ฝึกสอน หลักสูตร “การอบรมผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอลขั้นพื้นฐาน” จำนวน 4 รุ่น และ หลักสูตร “การอบรมผู้ฝึกสอนกีฬาขั้นพื้นฐาน” จำนวน 1 รุ่น ดังนี้
รุ่นที่ 1 ดำเนินการจัดอบรมระหว่างวันที่ 10-14 พฤษภาคม 2549 ณ อำเภอ เชียงของ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้ฝึกสอนในเขตอำเภอเชียงของ, อำเภอขุนตาล, อำเภอเวียงแก่น และอำเภอเทิง จำนวน 50 คน
รุ่นที่ 2 ดำเนินการจัดอบรมระหว่างวันที่ 9-13 พฤษภาคม 2549 ณ อำเภอแม่จัน โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้ฝึกสอนในเขตอำเภอแม่จัน , อำเภอแม่ฟ้าหลวง , อำเภอแม่สาย และอำเภอดอดยหลวง จำนวน 50 คน
รุ่นที่ 3 ดำเนินการจัดอบรมระหว่างวันที่ 8-12 พฤษภาคม 2549 ณ อำเภอเวียงชัย โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้ฝึกสอนในเขตอำเภอเวียงชัย , อำเภอเมือง , อำเภอพญาเม็งราย และอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จำนวน 50 คน
รุ่นที่ 4 ดำเนินการจัดอบรมระหว่างวันที่ 10-14 พฤษภาคม 2549 ณ อำเภอ พาน โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้ฝึกสอนในเขตอำเภอพาน , อำเภอแม่ลาว , อำเภอแม่สรวย และอำเภอเวียงป่าเป้า จำนวน 50 คน

6) โครงการแข่งขันฟุตบอลมวลชน “อำเภอ...คัพ”
- ผลการดำเนินงาน จัดการแข่งขันฟุตบอลมวลชนทุกอำเภอในจังหวัดเชียงราย (18 อำเภอ งบประมาณอำเภอละ 45,000 บาท)
- ผู้เข้าร่วมโครงการ : นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนทั่วไป

7) โครงการพัฒนาศักยภาพหน่วยงานและองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการ
- ผลการดำเนินงาน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนบูรณาการองค์กรกีฬาและนันทนาการ
- ผู้เข้าร่วมโครงการ : หน่วยงานและองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการ

8) โครงการพัฒนากีฬามวลชน
- ผลการดำเนินงาน ดำเนินการจัดจ้างเจ้าหน้าที่กีฬาและนันทนาการอำเภอทุกอำเภอในจังหวัดเชียงราย (18 อำเภอ) เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับคณะกรรมการกีฬาอำเภอ สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ศึกษา/สำรวจขอ้งมูลสภาพปัญหาและความต้องการชุมชนเตรียมข้อมูลเตรียมแผนดำเนินการ
จัดฝึกอบรมผู้นำทางการกีฬาและนันทนาการในหมู่บ้านเพื่อให้ความรู้เรื่องกีฬาและนันทนาการ
จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านการส่งเสริมพัฒนาสุขภาพทางกายและทางจิตใจ โดยการเล่นกีฬาและออกกำลังกาย
จัดเตรียมสนามอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในการออกกำลังกายเล่นกีฬาและกิจกรรม
จัดตั้งและดำเนินงานศูนย์พัฒนากีฬาในระดับอำเภออย่างน้อย 1 ชนิดกีฬา
- ผู้เข้าร่วมโครงการ : นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนทั่วไป

9) โครงการส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการเสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารจัดการท่องเที่ยวในจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
- ผลการดำเนินงาน
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2549 ทำบันทึกความเข้าใจสร้างเครือข่ายพันธ์มิตรการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย (MOU) ณ โรงแรมเวียงอินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 76 หน่วยงาน เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2549 จัดประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อจัดทำแผน/โครงการพัฒนาองค์กรเครือข่ายพันธ์มิตรการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย ณ โรงแรมทีดการ์เด็น สปารีสอร์ท ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 90 หน่วยงาน จัดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว จำนวน 3 กิจกรรม ดังนี้
1. จัดส่งขบวนรถบุปผชาติเข้าร่วมงานเทศกาลเชียงรายดอกไม้งาม ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549 ณ สนามฝึกนักศึกษาวิชาทหาร
2. จัดส่งขบวนรถนางนพมาศเข้าร่วมงานสงกานต์ล้านนาจังหวัดเชียงราน ในวันที่ 13 เมษายน 2549 ณ สวนตุงและโคม
3. จัดส่งขบวนแห่เทียนเข้าพรรษา ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2549 ณ สวนตุงและโคม

จัดทำสื่อ DVD ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย ดำเนินการจัดจ้างเจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ จำนวน 1 คน (อัตราเงินเดือนๆละ 5,000 บาท ) ระยะเวลาจัดจ้างจำนวน 7 เดือน

10) โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย
- ผลการดำเนินงาน เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 จัดประชุมสัมมนาเครือข่ายพันธมิตรการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย ทัศนศึกษาดูงานด้านการท่องเที่ยวและเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรการท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ 20 – 23 กันยายน 2549 ณ ภาคอีสาน (จังหวัดขอนแก่น , อุดรราชธานี , หนองคาย)

11) การจัดการแข่งขันกีฬาของจังหวัดเชียงราย การดำเนินงานที่ผ่านมาของศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดเชียงรายได้ดำเนินการจัดการแข่งขันดังนี้

ปี 2545
- กีฬาแห่งชาติ ภาค 5 ครั้งที่ 33

ปี 2547
- กีฬาชาวไทยภูเขา (กีฬาชาวดอย) ครั้งที่ 18

ปี 2548
- การแข่งขันฟุตบอล Priminister Cup
- Maekong Good will Games

ปี 2549
- การแข่งขันจักรยานชิงแชมป์ประเทศไทย
- การแข่งขันจักรยานยนต์ ซุปเปอร์ครอสชิงแชมป์ ประเทศไทย
- การแข่งขันกีฬาเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยจัดการแข่งขันกีฬาประเภท เปตอง วิ่งมินิมาราธอน และจักรยาน
- การแข่งขันฟุตบอล Priminister รองคัดเลือกภาคเหนือประชาชนชาย-หญิง

ปี 2550
- การแข่งขันวอลเลย์บอล อายุ 17 ปี กฟภ. (ภาคเหนือ)

fafabets สล็อตออนไลน์ เว็บ fafabets