• เปิดดู
    856
หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ

หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ เป็นเสมือนประตูเปิดสู่โลกอันลึกลับของพืชชนิดนี้ จากความมืดมนน่าหวาดกลัว สู่ความแจ่มจรัสและรู้แจ้ง พื้นที่ 5,600 ตารางเมตรแสดงลำดับเรื่องราวของฝิ่น โดยเริ่มจาธรรมชาติวิทยาของฝิ่น การสืบประวัติการใช้ฝิ่นในยุคโบราณกลับไป 5,000 ปี ประวัติการแพร่กระจายของฝิ่นจากการค้าสมัยจักรวรรดินิยม เหตุการณ์พลิกประวัติศาสตร์ที่สร้างความอดสูแก่ผู้ชนะและผู้แพ้สงครามฝิ่นอันนำไปสู่การล่มสลายของราชวงค์แมนจู ความชาญฉลาดของประเทศสยามในการเผชิญกับมหาอำนาจตะวันตกและการควบคุมปัญหาฝิ่น

วันและเวลาดำเนินการ ** วันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 8.30 – 16.00 น. ( เวลา 16.00 น. เป็นเวลาขายบัตรรอบสุดท้าย ) ** จำนวนผู้เข้าชมมากสุดไม่ควรเกิน 50 คน/ รอบ ระยะเวลาสำหรับการชมนิทรรศการโดยเฉลี่ย 1-2 ชั่วโมง

อัตราค่าเข้าชม- คนไทย 150 บาท / คน - คนต่างชาติ 200 บาท / คน - ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 50 บาท / คน - เด็กอายุ 12 – 18 ปี 50 บาท / คน - เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ไม่เสียค่าใช้จ่าย

หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ  เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อปี พ. ศ. 2542 – พ.ศ. 2545 เปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2546 และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2548 โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ เป็นเสมือนประตูเปิดสู่โลกอันลึกลับของพืชชนิดนี้ จากความมืดมนน่าหวาดกลัว สู่ความแจ่มจรัสและรู้แจ้ง พื้นที่ 5,600 ตารางเมตรแสดงลำดับเรื่องราวของฝิ่น โดยเริ่มจาธรรมชาติวิทยาของฝิ่น การสืบประวัติการใช้ฝิ่นในยุคโบราณกลับไป 5,000 ปี ประวัติการแพร่กระจายของฝิ่นจากการค้าสมัยจักรวรรดินิยม เหตุการณ์พลิกประวัติศาสตร์ที่สร้างความอดสูแก่ผู้ชนะและผู้แพ้สงครามฝิ่นอันนำไปสู่การล่มสลายของราชวงค์แมนจู ความชาญฉลาดของประเทศสยามในการเผชิญกับมหาอำนาจตะวันตกและการควบคุมปัญหาฝิ่น ยาเสพติดเริ่มใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันในรูปแบบของยามหัศจรรย์ หอฝิ่นได้นำเสนอสนธิสัญญาฝิ่น กฎหมายเกี่ยวกับฝิ่น องค์การที่แก้ไขปัญหานี้ ความขัดแย้งและการพัวพันอาชญากรรม ผลกระทบที่เลวร้ายของยาเสพติดที่ทำให้ผู้เสพไม่สามารถต่อต้านได้ มาตรการควบคุมและปราบปรามยาเสพติด และกรณีศึกษาที่นำเสนอทางเลือกและโอกาสที่จะต่อสู้กับความเย้ายวนจากสารเสพติด หอฝิ่นได้จัดแสดงอุปกรณ์การสูบฝิ่น การขายฝิ่น ชมภาพถ่าย ภาพยนต์และวีดิทัศน์เรื่องราวเกี่ยวกับและยาเสพติดจากหลายประเทศทั่วโลก

ที่พัก
เกรทเธอร์แม่โขงลอด์จ (GREATER MEKONG LODGE) ตั้งอยู่บริเวณเดียวกันกับ หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ โดยมีห้องพักสามารถมองเห็นทัศนียภาพของแม่น้ำโขง ทั้งหมด 54 ห้อง แบ่งเป็นห้องพัก 28 ห้อง และบ้านพัก (2 ห้องนอน) 13 หลัง พร้อมด้วยห้องประชุมสัมมนาที่สามารถรองรับได้ถึง 300 ท่าน

ราคาห้องพัก    - ห้องพักเดี่ยว ราคา 1,600 บาท (รวมอาหารเช้า)
                      - ห้องพักคู่ ราคา 1,800 บาท (รวมอาหารเช้า)
                      - เตียงเสริม ราคา 500 บาท ** อาหารกลางวันและอาหารเย็นแบบบุฟเฟ่ต์ สามารถสำรองล่วงหน้าได้ ราคาท่านละ 100 บาท (อย่างน้อย 30 คน ขึ้นไป)

ความเป็นมาของ หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ คือ จุดที่ประเทศไทย ลาว และพม่า มาบรรจบกัน เป็นที่ที่แม่น้ำรวกไหลมารวมกันกับแม่น้ำโขง และยังหมายถึงพื้นที่กว้างครอบคลุมบริเวณถึงสามประเทศ และในพื้นที่นี้เองมีการปลูกฝิ่น ผลิตเฮโรอีน และลักลอบนำออกไปขาย เมื่อได้ยินคำว่า “ สามเหลี่ยมทองคำ “  คนส่วนมากมักจะนึกถึง ดอกฝิ่น ชาวไทยภูเขา เทือกเขาที่ปกคลุมไปด้วยเมฆหมอก แม่น้ำโขง หรือภาพของภาพป่าเบจพรรณ แต่ภาพที่นึกถึงมากที่สุดคงจะเป็นภาพของฝิ่นและเฮโรอีน ภาพความลึกลับ น่าสะพรึงกลัวของการปลูกและการลักลอบค้าฝิ่น ภาพสงครามกลางเมือง กองทหารการสู้รบของพวกลักลอบการค้าฝิ่น ชาวบ้านยากจน การกวาดล้างโรงงานผลิตเฮโรอีน คาราวานขนฝิ่นไปตามเส้นทางในป่า สามเหลี่ยมทองคำ คือแหล่งที่มาของเฮโรอีนกว่าครึ่งของจำนวนที่มีอยู่ทั้งหมดในโลก สามเหลี่ยมทองคำ คือรากเหง้าของอาชญากรรมและการกระทำอันทุจริตที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชียแพร่ไปสู่แอฟริกา ยุโรปและอเมริกา ทุกๆปีจะมีนักท่องเที่ยวเกือบแสนเดินทางมาที่นี่เพียงเพราะชื่อ สามเหลี่ยมทองคำ ปี พ.ศ.2531 (1988) สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ทรงเริ่มโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้นในจุดเหนือสุดของประเทศไทยโครงการนี้มีจุดหมายที่จะคืนผืนป่าและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เทือกเขานางนอนในเขตพื้นที่ประเทศไทย และหยุดการปลูกและการเสพฝิ่นในดินแดนแห่งนี้ ในอีกไม่กี่ปีต่อมา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ทรงริเริ่มโครงการที่จะช่วยให้การศึกษาแก่ประชาชนในเรื่องของการศึกษาประวัติของฝิ่นในดินแดนสามเหลี่ยมทองคำและทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนร่วมกันต่อสู้ยาเสพติด ให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า ยาเสพติดประเภทต่างๆ ไม่เฉพาะก่อให้เกิดปัญหากับประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังสร้างปัญหาให้กับประชากรและสังคมโลกโดยรวมอีกด้วย การริเริ่มโครงการในพระราชดำริในครั้งนั้น ส่งผลสืบเนื่องให้เกิด หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ

หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ ห่างจากอำเภอเชียงแสนประมาณ 10 กิโลเมตร หอฝิ่นฯซึ่งล้อมรอบด้วยสวนอันสวยงามของอุทยานสามเหลี่ยมทองคำ จะเป็นศูนย์นิทรรศการแสดงประวัติความเป็นมาของฝิ่นเมื่อสมัยที่มีการใช้กันอย่างถูกกฎหมายและผลกระทบของการเสพติดฝิ่น อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัยและการศึกษาต่อเนื่องในหัวข้อฝิ่น สารสกัดจากฝิ่นในรูปแบบต่างๆและยาเสพติดในชนิดอื่นๆ

นิทรรศการภายในของหอฝิ่นประกอบด้วย

อุโมงค์มุข (TUNNEL)  นิทรรศการเริ่มตั้งแต่อุโมงค์ที่มืดสนิท ดูลึกลับที่มีความยาว 137 เมตร ซึ่งเจาะทะลุภูเขาทางด้านตึกรับรองไปถึงตัวอาคารใหญ่อีกฟากหนึ่ง ที่กว้าง สว่าง ลม โปร่ง และเป็นทุ่งฝิ่นจำลอง

ห้องโถง (LOBBY) ผู้คนจะได้เห็นทุ่งฝิ่นจำลอง และศึกษาเรื่องราว และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพันธุ์ต่างๆของดอกป๊อปปี้ทั้งที่เป็นพันธุ์สวยงามและเป็นพันธุ์ที่ใช้กรีดเอายางมาผลิตเป็นยา การเจริญเติบโตในระยะต่างๆของดอกป๊อปปี้ รวมทั้งการเปาะแห้งของดอกป๊อปปี้ที่ใช้ประโยชน์ในการตกแต่งดอกไม้แห้งประดับ

ห้องประชุม (AUDITORIUM)  ห้องโสตทัศนศึกษาในห้องนี้มีการจัดฉาย VTR เล่าถึงที่มาจุดประสงค์และเรื่องราวที่บรรจุในการจัดหอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ

ปัญจสหัสวรรษแรก (THE FIRST 5,000 YEARS)  ผู้ชมจะเดินทางเข้าสู่การแกะรอยประวัติศาสตร์อันยาวนาน และเปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ห์ของพืชพิเศษประเภทนี้ การแกะรอยประวัติศาสตร์ของฝิ่นเริ่มต้นจากการกำเนิดของฝิ่น บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีหลักฐานการค้นพบครั้งแรกที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ตลอดจนหลักฐานที่มีการเขียนเป็นรายลักษณ์อักษรชิ้นแรกในตำราทางการแพทย์ SUMERIAN และการใช้เชิงการแพทย์ และการศาสนาในกรีกโบราณ โมและ อียิปต์ ได้มีการใช้ฝิ่นซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิผลที่ต่ำมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน

มีดสองคม (LIGHT AND DARK HALLWAY) ผนังสองด้านของทางเดินเชื่อมต่อนี้จะถูกออกแบบให้สะท้อนถึงด้านดีและด้านร้ายที่ได้จากการใช้ ”ฝิ่น”
- ด้านที่ดี จะเป็นด้านที่สว่างเห็นภาพของการใช้ยาที่ได้จากการสกัดจากฝิ่น เพื่อประโยชน์จากการรักษาและบรรเทาอาการเจ็บปวด ผลผลิตที่ได้จากดอกป๊อปปี้ เช่น สินค้า เค้ก ขนมปัง ดอกไม่ประดับ
- ด้านร้าย เป็นด้านที่มืดจะเห็นอาการที่ทุกข์ทรมานจากการเสพติด ภาพการใช้เข็มฉีดยา และภาพการเสื่อมโทรมทางกายภาพของผู้ติดยา

ประจิมสู่บูรพา (FROM WES TO EAST)  ต่อจากนั้นผู้ชมจะก้าวเข้าสู่ยุคของการค้าระหว่างจักรวรรดิยุโรปกับเอเชีย เพื่อที่จะได้เรียนรู้ว่าฝิ่นเป็นสินค้าในเชิงพาณิชย์อย่างไรและฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดที่แพร่หลายในวงกว้างอย่างไร โดยจำลองฉากท่าเรือพาณิชย์อังกฤษผู้ชมจะเดินทางผ่านห่อใบชา ผ้าไหม เครื่องลายคราม และเครื่องเทศ อันเป็นสินค้าของตะวันออกและวัฒนธรรมการดื่มชาของชาวอังกฤษ และเป็นสาเหตุของการขาดดุลการค้าอย่างมหาศาลเกือบทำให้ประเทศนี้เกือบล่มสลาย ต่อจากนั้นจึงเดินทางเข้าสู่เรือสินค้าของยุโรปที่ออกเดินทางจากอังกฤษมาอินเดียพร้อมทั้งชมโรงงานฝิ่นในอินเดีย เรือบรรทุกสินค้าจะหยุดพักที่เมืองสิงคโปร์เพื่อเติมเสบียง และขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือขนาดเล็ก สู่ท่าเรือท้องถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เมืองสงขลา และจันทบุรี เมืองสิงคโปร์จึงกลายเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างอินเดียและจีน ก่อนที่จะรวมการเดินทางราวติดปีกของฝิ่นมาสู่ประเทศจีนที่ท่าเรืออันเป็นหัวใจของจีน กวางตุ้ง

ศึกยาฝิ่น (OPIUM WARS)  ร่องรอยประวัติศาสตร์นี้จะนำนักท่องเที่ยวสู่ความขัดแย้งที่รู้จักกันในนาม “ สงครามฝิ่น “ เมื่อชาวอังกฤษบังคับให้จีนเปิดประเทศเข้าสู่การค้าเสรีและภายใน ค.ศ. 1900 คนจีนกว่า 13 ล้านคน ติดฝิ่นเศรษฐกิจของจีนถูกทำลายลงอย่างย่อยยับจากการที่จีนต้องนำเข้าฝิ่นเป็นจำนวนมากมายมหาศาลและราชวงค์แมนจู(ราชวงค์ชิง) ก็ตกอยู่ในภาวะล่มสลาย ภายในห้องนี้จะเล่าถึงเหตุการณ์ สำคัญรวมทั้งสงครามที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของจีนโดยมีการจัดแสดงหุ่นจำลองของสามบุคลสำคัญของจีนและสามบุคลสำคัญของอังกฤษทั้งหมดมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับสงครามฝิ่น ห้องถัดมาจะเป็นการจัดแสดงเหตุการณ์สำคัญสามเหตุการณ์ ได้แก่ การทำลายฝิ่นที่หูเหมินโดยข้าหลวงหลินเจ๋อสวี การเผาทำลายหยวนหมิง – หยวน ซึ่งเป็นพระราชวังฤดูร้อนอายุกว่า 150 ปี การถูกลิดรอนสิทธิและผลกระทบด้านความเป็นอยู่ของชาวจีนหลังสงคราม

ฝิ่นในสยาม ( OPIUM IN SIAM )  เมื่อลองเข้ามาในห้องนี้จะมีเจดีย์รัตนโกสินทร์ตั้งอยู่และจะผ่านเข้าประตูเมือง มีการจำลองโรงน้ำชาจีนในเยาวราชโดยมีหุ่นนอนสูบฝิ่นสองคน ความเป็นมาของฝิ่นในสยาม แม่ฝิ่นจะไม่ได้มีต้นกำเนิดในประเทศไทยแต่ก็มีหลักฐานยืนยันว่าคนไทยรู้จักฝิ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วในสมัยรัชการที่ 1,2 และ3 พระราชบัญญัติห้ามค้าฝิ่นและสูบฝิ่นยังคงถูกประกาศใช้อย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ฝิ่นในสยามเริ่มเปลี่ยนแปลงหลังจากอังกฤษรบชนะจีนในสงครามฝิ่น อีกส่วนต่อมาจะจัดแสดงของหายาก เช่น ลูกแป้ง กลักยาฝิ่น หมอน เป็นต้น รวมทั้งพื้นที่จำลองในการเคี่ยวฝิ่น,พระพุทธรูปที่ได้จากการหลอมกลักฝิ่น

ยามหัศจรรย์ (MEDICAL MARVELS)  ต่อจากนั้นนักท่องเที่ยวจะได้รู้ถึง พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ ของตะวันตกที่นำไปสู่การแยกตัวของมอร์ฟีน พัฒนาการของเฮโรอีน และการฉีดเฮโรอีนเข้าใต้ผิวหนังชาวตะวันตกส่วนมาจะติดยาแก้ปวดประเภทนี้และยาอื่นๆรวมถึงฝิ่นและยาเสพติดอื่นๆ

ข้อห้ามทางกฎหมาย/อาชญากรรม/การขัดแย้ง ( PROHIBITION/CRIME/CONFLICT) การตามรอยประวัติศาสตร์จบลงด้วยการที่ทั่วโลกต้องหันมาป้องกันฝิ่นและยาเสพติดในช่วงทศวรรษที่ 20 โดยยาเสพติดที่ผิดกฎหมายอยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การอาชญากรรมอันเป็นควานพยามของชาวโลกในการร่วมใจพัฒนาเพื่อต่อสู้กับการลักลอบค้ายาเสพติดและการใช้ยาในทางที่ผิด

แหล่งซุกซ่อน (HIDE-OUT HALLWAY ) ต้องการให้ผู้ชมทราบถึงการรู้เท่าทันของเจ้าหน้าที่ตำรวจจับยาเสพติดว่า ไม่ว่าจะซ่อนไว้ที่ไหนก็ตามก็สามารถจับได้ เช่น การซ่อนไว้ที่รองเท้า ในกระหล่ำปลี เป็นต้น

ผลร้ายของยาเสพติด (EFFECTS OF DRUGS) ผู้ชมจะได้เห็นว่าการติดยาเสพติดเป็นสิ่งที่ทุกข์ทรมานจะเกิดผลร้ายที่กระทบกันอย่างต่อเนื่องทังทางด้านเศรษฐกิจด้านสังคมและตัวผู้เสพเอง ทางด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ชมจะได้ทราบถึงยาเสพติดประเภทต่างๆ เช่น ยาเสพติดในกลุ่มฝิ่น,ยากดประสาท,ยากระตุ้นประสาท,ยาหลอนประสาท,กลุ่มสารระเหย ฯลฯ ใครที่คิดว่ายาเสพติดไม่เกี่ยวกับเขาเพราะเขาหรือใครในครอบครัวไม่ติดยา คนนั้นคิดผิดยาเสพติดมีผลกระทบต่อชีวิตทุกคน

การศึกษา (CASE STUDIES) เป็นกรณีศึกษาจริงว่าเกิดอะไรขึ้นกับครอบครัวที่ติดยาเสพติดการจัดแสดงเรื่องราวของครอบครัวที่ตกเป็นทาสยาเสพติดว่าต้องประสบชะตากรรมอย่างไรบ้าง บางครอบครัวก็สามารถเอาชนะได้และบางครอบครัวก็ต้องประสบทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส

หลอกตัวเอง/หลอกคนอื่น (GALLERY OF EXCUSES/GALLERY OF VICTIMS) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการแก้ตัว แก้ต่าง กล่าวโทษกันไปมา ไม่มีประโยชน์ ไม่มีข้อสรุป สุดท้ายคือความตาย และเรื่องราวที่เกี่ยวกับเอดส์และผู้ตกเป็นเหยื่อ

ห้องคิดคำนึง (HALL OF REFLECTION)  ผู้ชมได้มีโอกาสที่ได้อยู่กับตัวเองและตั้งคำถามเกี่ยวกับประสบการณ์ทั้งหมดที่ได้รับจากการชมนิทรรศการทั้งหมด ซึ่งเราหวังว่านักท่องเที่ยวแต่ละท่านที่ได้เข้ามาสัมผัส หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ จะก้าวออกจากนิทรรศการแห่งนี้ไปด้วยความรู้สึกที่ปรารถนาจะมีส่วนร่วมในอันที่จะแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อไป

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับหอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ
- ดร. ชาร์ลส์ บี เมห์ล (Charles B. Mehl,Ph.D.) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงได้ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าข้อมูลประวัติความเป็นมาถึงเรื่องราว ตลอดจนคุณและโทษของฝิ่นอยู่นานถึง 9 ปี
- ได้รับความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัย CARNELL ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผู้ที่เขียนหนังสือเรื่องราวเกี่ยวกับฝิ่นและภาพถ่ายมากกว่าหนึ่งแสนหน้ากระดาษ ที่บันทึกไว้ในไมโครฟิล์ม
- ได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลจีนให้เข้าไปศึกษาค้นคว้าในพิพิธภัณฑ์ของจีนเกี่ยวกับเรื่องราวของสงคราม ฝิ่น
- OECF ( กองทุนความร่วมมือทางเศรฐกิจภาคโพ้นทะเล) ของประเทศญี่ปุ่น สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างตัวอาคารและตกแต่งภายในเป็นเงิน 9.5 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือคิดเป็นเงินไทยในขณะนั้นประมาณ 358 ล้านบาท มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงได้สนับสนุนการจัดหารูปภาพ ระบบแสงสีเสียง อุปกรณ์การแสดงต่างๆที่ตกแต่งภายในโดยทีมงานศึกษาวิจัยของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
- UN ได้ให้การสนับสนุนภาพบางส่วน -ดร. เสกสรร ประเสริฐกุล ได้ให้การสนับสนุนเรื่องราวของฝิ่นในประเทศสยาม -ปัจจุบันประชากรทั้งโลกมีประมาณ 6พันล้านคนมีเพียง1% ที่ได้รับผลประโยชน์จากการผลิต
- เป้าหมายของหอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ คือการลดความต้องการสารเสพติด หมายถึง เป็นสถานศึกษา มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงทีความประสงค์ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน โดยพยามที่จะให้คนทั่วโลกเข้าใจและมีความเห็นพ้องต้องกันที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไป ขณะที่ปัญหาเกิดจากผู้ผลิตที่เราพบได้ง่ายในบริเวณที่ประเทศที่กำลังพัฒนาจะต้องช่วยกันหยุดความต้องการของผู้ใช้และผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ให้หมดสิ้นไป
- หวังว่าหลังจากที่พวกเราได้เดินชมกันทั่วแล้ว คงจะมีความคิดเห็นว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้เราร่วมกันต่อสู้และต่อต้านปัญหายาเสพติดเพื่อทำให้สังคมโลกของเราดีขึ้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ โทร (053) 784-444-6 , แฟกซ์ (053) 652-133 , อีเมล์ hallofopium@doitung.org

เกรทเธอร์แม่โขงลอด์จ
โทร (053) 784-450-2 , แฟกซ์ (053) 784-453, อีเมล์ gml@doitung.org
ฝ่ายการตลาด(กรุงเทพ) โทร (02) 252-7114 , แฟกซ์ (02) 254-1665, อีเมล์ tourism@doitung.org

หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ หมู่ 1. บ้านสบรวก ต. เวียง อ. เชียงแสน จ. เชียงราย 57150 เว็ปไซด์ : www.maefahluang.org

*************************************************************************

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :: หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ หมู่ 1. บ้านสบรวก ต. เวียง อ. เชียงแสน จ. เชียงราย 57150

โทร / แฟ็กซ์ :: 053-784-444-6

โฮมเพจ / เว็บไซต์ :: www.maefahluang.org